กระบวนการพัฒนาทักษะอารมณ์และสังคม (Social-Emotional Skills) ในเด็กปฐมวัย

เด็กในช่วงปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญในการปูรากฐานให้เด็กมีทักษะอารมณ์และสังคม การจะเกิดทักษะนี้ได้ต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาความสามารถของเด็กหลายๆ ด้านด้วยกัน ได้แก่ พัฒนาการตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง(Self-awareness) พัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง (Independence) พัฒนาการกำกับอารมณ์ตนเอง (Emotional regulation) พัฒนาความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relation with others) และการ“อ่านอารมณ์” (Emotional Literacy) เรามีวิธีการที่คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง และคุณครูสามารถนำไปฝึกพัฒนาลูกหลาน เด็กๆ ได้ไม่ยาก

การพัฒนาเด็กเรียนรู้อะไรโดยวิธีการอย่างไร
การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง(Self-awareness)ค่อยๆ เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกายของตนเอง รู้ว่าตนเองทำอะไรได้หรือยังทำไม่ได้ดีโดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่โรงเรียน เช่น นั่งวงกลม หรือวิ่งเล่นในสนาม ฯลฯ ได้ผลัดกันเล่นและพูดคุยกับเพื่อน  ได้เรียนรู้การเรียกชื่อกัน ได้ฝึกประเมินตนว่าเลือกทำกิจกรรมนั้นนี้แล้วชอบหรือไม่ชอบอย่างไร
การพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง (Independence)เรียนรู้ปฏิบัติตามกิจวัตรประจำวัน หรือกิจกรรมในชั้นเรียน ในบ้านได้ดี  ช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น สวมเสื้อผ้าเอง เข้าห้องน้ำเอง  กินอาหารเอง รวมทั้งมักจะบอกได้ว่าวันนี้ทำอะไรมาบ้าง เรียนรู้อะไร และฝึกใช้คำศัพท์ใหม่ๆ ทุกวัน มักจะเป็นฝ่ายเข้าไปชวนเพื่อนมาเล่น บางครั้งเล่นด้วยตนเองกับของเล่นหรือวัสดุอุปกรณ์ที่มีโดยฝึกปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ฝึกช่วยเหลือตัวเองอย่างง่ายๆ ฝึกคำศัพท์ใหม่ๆ ฝึกเล่นด้วยตัวเอง
การกำกับอารมณ์ตนเอง (Emotional regulation)เรียนรู้การกำกับอารมณ์และการแสดงออกของตน เช่น โกรธก็ไม่อาละวาด แต่บอกความรู้สึกโกรธของตนได้ และหาวิธีคลี่คลายความโกรธให้ลดลง ฯลฯ โดยผู้ใหญ่ยังต้องช่วยประคองโดยฝึกให้เด็กรู้จักอารมณ์ของตนเองที่กำลังเกิดขึ้น เด็กปฐมวัยมักจะแสดงออกซึ่งสีหน้าท่าทางที่ตรงไปตรงมากับอารมณ์ความรู้สึกของตน เช่น เมื่อโกรธก็แสดงสีหน้าท่าทาง โกรธ  เมื่อดีใจก็กระโดดโลดเต้น ฯลฯ ครูช่วยเบี่ยงเบนความรู้สึกเพื่อช่วยให้เด็กค่อยๆ คลี่คลายอารมณ์ความรู้สึก
ความสัมพันธ์กับคนอื่น (Relation with others)เด็กปฐมวัยจะค่อยๆ เรียนรู้และเพิ่มความสามารถในการเข้าใจและตอบสนองความรู้สึกของเพื่อนได้ โดยผ่านการเล่นที่หลากหลายตามวัย เล่นกับคนอื่น ในการเล่นด้วยกันของเด็กปฐมวัยโดยเฉพาะหลัง 4 ขวบขึ้นไป เด็กจะได้เผชิญสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจว่า จะช่วยเหลือ แบ่งปัน แบ่งหน้าที่ หรือต่อรอง ต้องทำตัวอย่างไร  ในการเล่นบทบาทสมมติ เด็กจะได้ฝึกใช้คำพูดในการสื่อสารแสดงความรู้สึกและความคิด โดยอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ในการจัดการหรือต่อรองแบ่งของเล่นกับเพื่อน  แต่ในที่สุดเด็กก็จะเรียนรู้การต่อรอง แบ่งปันได้ด้วยตนเอง   
การ“อ่านอารมณ์” (Emotional Literacy)มีความสามารถในการระบุชื่ออารมณ์และพูดคุยเกี่ยวกับอารมณ์ของตนเองได้ เด็กที่ระบุอารมณ์ของตนและพูดคุยถึงมันได้ มักจะไม่หงุดหงิดง่าย ไม่งอแงเกินเหตุขณะเดียวกันก็จะรับรู้และเข้าใจประสบการณ์ด้านอารมณ์ของคนอื่นว่าเขารู้สึกอย่างไรโดยฝึกให้เด็กรู้จักอารมณ์ของตนเองและบอกสภาวะอารมณ์ของตนเองได้ เช่นกำลังโกรธ กลัว ดีใจ เศร้า ฯลฯ ฝึกให้รู้จักอารมณ์ของคนอื่น โดบอาจใช้การเล่านิทานที่ครูสอดแทรกเรื่องอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครให้เด็กฟังด้วย  

ถ้าเด็กขาดโอกาสฝึกกระบวนการพัฒนาสิ่งเหล่านี้ ไม่ได้มีประสบการณ์ในการอยู่ร่วมกับคนอื่น เด็กก็อาจขาดความสามารถที่จะเข้าใจผู้คนที่มีความซับซ้อน ขาดการพัฒนาทักษะอารมณ์ สังคม ซึ่งเป็นทักษะสำคัญในการเข้าสังคม กลายเป็นอุปสรรคในการเข้าสังคมต่อไปในอนาคตได้ 


ความรู้ชุด “ดูแลเด็กยุคโควิด” โดย สถาบัน RLG (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
ปรารถนา หาญเมธี : เขียน
ผาณิต บุญมาก : เรียบเรียง
ภาวนา อร่ามฤทธิ์ : บรรณาธิการ