คนจำนวนมากมักคาดเอาว่า บุคคลที่มีปัญญา (intelligence) ดีมักจะมี EFs ดีโดยธรรมชาติ เรามักจะคาดหวังว่าเด็กที่เรียนดีจะมีนิสัยการทำงานที่ดี และมีความสามารถในการจัดการกับการงานทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนได้ดี แต่ในความเป็นจริง ความสามารถทางปัญญากับ EFs ไปด้วยกันได้ในบางระดับเท่านั้น
นั่นหมายความว่า เด็กที่มีปัญญาเลิศอาจจะมีความสามารถในการยับยั้งแรงกระตุ้นได้ต่ำ มีทักษะการวางแผนหรือจัดการกับชีวิตประจำวันได้ไม่ดี นอกจากนี้ ความสามารถในการใช้ปัญญาวิเคราะห์และเข้าใจการงาน ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะสามารถลงมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ

ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าคนที่มีความบกพร่องทางสมองมักจะมี EFs อ่อนแอไปด้วย แต่ก็พบได้ว่า เด็กที่มี IQ ต่ำจำนวนมากมีความสามารถที่ดีในการเรียนรู้และดำเนินงานในกิจวัตรประจำวันได้ดี”

Joyce Cooper-Kahn & Laurie Dietzel,(2008), Late, Lost, and Unprepared : A Parents’ Guide to Helping Children with Executive Functioning. Woodbine House,MD p.17

“EFs แตกต่างจากสิ่งที่คนคิดถึง IQ การทดสอบ IQแบบดั้งเดิมเป็นการวัดสิ่งที่เรียกว่า “ความสามารถทางปัญญาที่ตกผลึกแล้ว” (crystallized intelligence) เป็นการเรียกข้อมูลในสิ่งที่เรียนไปเรียบร้อยแล้ว เช่น คำนี้หมายความว่าอย่างไร เมืองหลวงของประเทศนี้ชื่ออะไร

แต่ Executive Functions คือความสามารถในการใช้สิ่งที่เรารู้แล้ว นำมาสร้างสรรค์ใหม่ หรือ นำมาแก้ปัญหา ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความสามารถทางปัญญาที่เลื่อนไหล(fluid intelligence) ทักษะความสามารถชนิดนี้ ต้องการการให้เหตุผล และการหยิบใช้ข้อมูล fluid intelligence กับ EFs มีความทับซ้อนกันอย่างมาก…. มีหลักฐานมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งชี้ว่า working memory กับ inhibition คือสิ่งที่บอกถึงความสำเร็จของเด็กหลังจบจากโรงเรียนแล้ว ได้ดียิ่งกว่าการทดสอบ IQ”

Adele Diamond,2008, Executive Functions , interview with Ellen Galinsky Oct.4,2008