โรงเรียนอนุบาลสาธิตเทศบาลนครขอนแก่นได้รับนโยบายทางการศึกษาให้เป็นคลัสเตอร์ทางวิชาการ คณะครู ผู้อำนวยการประชุมร่วมกันแล้วเห็นว่าเรื่อง EF เหมาะสมที่จะเป็นองค์ความรู้ในการพัฒนาเด็ก โดยการนำเสนอของอาจารย์ประชารัฐ ซึ่งส่วนตัวมีความประทับใจกับเรื่อง EF ที่เป็นความรู้ใหม่เกี่ยวกับการพัฒนาสมองของเด็ก และเห็นว่าEF มีความสอดคล้องกับนโยบายของนายกเทศมนตรีนครขอนแก่นเกี่ยวกับคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น 6 ประการ คือ มีวินัย อดทน รับผิดชอบ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูและสำนึกรักท้องถิ่น จึงนำเรื่อง EF เสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียน ได้รับความเห็นชอบให้นำความรู้ EF ขยายสู่ครูในโรงเรียนและเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กนักเรียนโดยอาจารย์ประชารัฐคอยให้คำแนะนำ หาแหล่งข้อมูลให้ครูนำความรู้ EF ไปสู่การปฏิบัติ และมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ อาจารย์ประชารัฐยังสื่อสาร ประสานกับเครือข่าย EF จังหวัดขอนแก่นเพื่อร่วมขับเคลื่อน EFระดับจังหวัดไปด้วยกัน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้กับศึกษานิเทศก์อย่างสม่ำเสมอ

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • ถ่ายทอดความรู้ EF และวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะสมอง EF สู่ครูโรงเรียนอนุบาลสาธิตเทศบาลนครขอนแก่น
  • นำเสนอรองนายกเทศมนตรีที่ดูแลฝ่ายการศึกษาและนำเรียนนายกเทศมนตรี ได้รับความเห็นชอบและให้การสนับสนุนเต็มที่
  • ร่วมขับเคลื่อน EF ในระดับจังหวัด
  • มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับศึกษานิเทศก์จังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นผู้นำการขับเคลื่อน

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สื่อสารประสานกับ “เครือข่าย EF จังหวัดขอนแก่น” โดยการนำของผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ซึ่งมอบนโยบายว่าเด็กปฐมวัยจะต้องมีการพัฒนาโดยพัฒนาทักษะสมอง EF 14 เครือข่าย ประกอบด้วยโรงเรียนในสังกัด อบจ. เทศบาลสพฐ.และโรงเรียนเอกชน ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปด้วยกัน มีกลุ่มไลน์เครือข่ายเพื่อแชร์ประสบการณ์ว่านำทักษะ EF ไปใช้อย่างไร ได้ผลอย่างไร

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • ในฐานะผู้ดูแลฝ่ายวิชาการมีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง มีการนิเทศครู 100% ร่วมกับคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
  • หาแหล่งเรียนรู้ให้ครูได้เรียนรู้การนำความรู้EF ไปประยุกต์ในการเรียนการสอน เช่น แนะนำให้ครูเรียนรู้จากรายการ “Can Do ครู EF”

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • จะพัฒนาโรงเรียนอนุบาลสาธิตเทศบาลนครขอนแก่นให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ EF

การแก้ปัญหา

  • ครูคิดรูปแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่ส่งเสริม EF ได้ยาก เพราะเป็นเรื่องใหม่ จึงแนะนำให้ครูได้เรียนรู้ EF จากรายการ “Can Do ครู  EF” แล้วนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาแลกเปลี่ยนกันในแต่ละสัปดาห์ นำมาเป็น Best Practice ที่ครูนำไปพัฒนาเด็ก

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูมีการพัฒนาเติบโต กระตือรือร้น มีเทคนิคการจัดประสบการณ์มากขึ้นทำให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข ครูก็มีความสุขในการสอน