งานวิจัยที่ใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI บ่งชี้ว่า การฝึกฝนดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเล็กส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ EF ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การฝึกฝนดนตรีช่วยให้เด็กมีผลการเรียนในอนาคตดีขึ้น
งานวิจัยที่ใช้เครื่องสแกนสมอง fMRI บ่งชี้ว่า การฝึกฝนดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเล็กส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ EF ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การฝึกฝนดนตรีช่วยให้เด็กมีผลการเรียนในอนาคตดีขึ้น
Dr.Nadine Gaab และทีมนักวิจัยจากศูนย์ปฏิบัติการวิจัยทางประสาทวิทยาศาสตร์ ของโรงพยาบาลเด็กบอสตันในรัฐแมสซาจูเสจ สหรัฐอเมริกา มีผลงานวิจัยที่สนับสนุนเรื่องการฝึกเล่นดนตรีอาจช่วยให้พัฒนา EF ได้ โดยได้วิจัยเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างในผู้ใหญ่ที่เป็นนักดนตรี และผู้ที่ไม่ได้เป็นนักดนตรี พบว่า
…. ผู้ที่เป็นนักดนตรีสามารถทำการทดสอบได้ดีกว่าในด้านความคล่องทางภาษา เช่น สามารถคิดคำศัพท์แยกตามประเภท เป็นต้น ความคล่องที่ไม่ใช่ภาษา เช่น การวาดรูปสัญลักษณ์ รูปทรงต่างๆ และความสามารถในการจำตัวเลขย้อนกลับ (ฺBackward Digit Span)
…. ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเด็ก งานวิจัยได้เปรียบเทียบเด็กที่เรียนดนตรี และเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี พบว่า เด็กที่เรียนดนตรีสามารถทำการทดสอบได้ดีกว่าด้านการทำงานประสานกันระหว่างมือและสายตาในการลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ ความคล่องทางภาษา และการลากเส้น เช่น การลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างวงกลมกับตัวเลขสลับกัน
…. นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยจากการสแกนสมอง fMRI พบว่าสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ในเด็กที่เรียนดนตรีมีการทำงานมากกว่าเด็กที่ไม่ได้เรียนดนตรี
คุณครูและทางโรงเรียนไม่ควรตัดหรือลดเวลาเรียนดนตรี ควรสนับสนุนและจัดเวลาให้เด็กๆ ได้เรียน ฝึกฝนดนตรีอย่างต่อเนื่องด้วย นอกเหนือไปจากการเรียนเขียนอ่าน วิชาการ
Ref : Nadine Gaab, PhD, of the Laboratories of Cognitive Neuroscience at Boston Children’s Hospital online June 17 in the journal PLOS ONE
“การฝึกฝนดนตรีตั้งแต่วัยเด็กเล็กส่งผลต่อการพัฒนาทักษะ EF ทั้งในเด็กและในผู้ใหญ่ การฝึกฝนดนตรีช่วยให้เด็กมีผลการเรียนในอนาคตดีขึ้น”