ทฤษฎีความผูกพัน

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวอังกฤษ จอห์น โบว์ลบี (John Bowlby – 1907-1990) ได้ให้กำเนิดทฤษฎีความผูกพัน (Attachment Theory) ขึ้น จากการตั้งข้อสังเกตว่า เด็กที่ถูกเลี้ยงมา ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าไม่มีความสุข แม้จะอยู่ในที่พักอาศัยอันอบอุ่น มีเสื้อผ้าพอเพียงและได้อาหารที่ดี  จอห์น โบว์ลบี ได้อนุมานว่า การที่เด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า ไม่มีความสุข เนื่องจากแม้เด็ก ๆ จะได้รับการเลี้ยงดู ตามมาตรฐาน แต่เด็กเหล่านี้ “ไม่มีใคร”เป็น“หลัก” คอยดูแล เอาใจใส่ตอบสนองอารมณ์และสภาพจิตใจ เด็ก กำพร้าเหล่านี้จึงขาดที่มาของความมั่นใจว่า ตนเป็นที่รัก เป็นที่ต้องการของใครๆ เติบโตขึ้นมาแบบขาดซึ่งคนที่เป็นกำลังใจให้ยามที่ต้องการ ขาดคนที่ไว้ใจว่าจะอยู่เคียงข้าง ไม่มีใครปลอบโยนในยามที่หวาดกลัว ไม่มีใคร โอบกอดในยามที่เหน็บหนาว หรือแม้แต่การที่ต้องทำสิ่งต่างๆตามตารางที่กำหนดมาตลอดเวลา โดยที่ไม่มีโอกาส บอกความต้องการของตน

 นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แฮรี่ ฮาร์โลว์ (Harry Harlow) แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ได้ขยายผลการค้น พบของจอห์น โบว์ลบี ด้วยงานวิจัยที่ดูเหมือนสุดโต่งและโด่งดังเป็นที่กล่าวขวัญถึงมาก  ฮาร์โลว์เป็นนักจิตวิทยา คนแรก ที่ได้ใช้วิธีการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ในการศึกษาเรื่องความรัก, ความชอบซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องและวัดไม่ ได้   งานวิจัยจำนวนมากที่ฮาร์โลว์ทำ แสดงให้เห็นว่า ความรักและความผูกพันที่ทารกได้รับในปฐมวัยของชีวิต มี ความสำคัญต่อการพัฒนาการด้านสุขภาพทั้ง สุขภาพทางกายและสุขภาพทางใจ  แต่เดิมโดยทั่วไปนั้น นักจิตวิทยา มักมีแนวคิดว่า ความผูกพันระหว่างแม่กับลูกน้อยในช่วงปีแรกๆที่เกิดมา เป็นเพียงเรื่องของการให้นมแม่และ อาหาร ให้ครบหมวดหมู่ ได้ดื่มน้ำเพื่อบรรเทาความกระหาย และ หลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการเจ็บป่วยหรือ อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเท่านั้น

การทดลองที่โด่งดังที่สุดของฮาร์โลว์ คือการสังเกตความสัมพันธ์ลูกลิงกับ “แม่” ตัวปลอมสองตัว แม่ตัว หนึ่ง ทำจากผ้าเนื้อนุ่มแต่ไม่มีอาหารให้ ส่วนแม่ตัวปลอมอีกตัวทำด้วยลวดแต่สามารถให้อาหารลูกลิงได้จากขวด นมที่ผูกติดกับลวด วิธีการทดลองที่ฮาร์โลว์ทำคือ การแยกลูกลิงออกจากแม่แท้ๆของมัน หลังคลอดออกมาได้ไม่กี่ ชั่วโมง และปล่อยให้พวกมันถูก”เลี้ยง” โดยแม่ปลอมทั้งสองแบบ การทดลองแสดงให้เห็นว่า ลูกลิงใช้เวลากับแม่ ที่เป็นผ้าเนื้อนุ่มมากกว่าแม่ที่ทำจากลวดแต่มีนมให้อย่างมีนัยยะสำคัญ ลูกลิงไปหาแม่ที่ทำจากลวดและมีอาหาร ให้กิน เฉพาะตอนที่ต้องการดูดนมเท่านั้น แต่ส่วนใหญ่มันชอบใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับความอ่อนนุ่มของแม่ที่ทำจาก ผ้ามากกว่า

https://www.verywellmind.com/harry-harlow-and-the-nature-of-love-2795255

ในการวิจัยต่อมาของฮาร์โลว์ ได้ การที่ลูกลิงหันไปหาแม่ที่ทำจากผ้านั้น ฮาร์โลว์ใช้วิธีการวิจัย โดยสร้าง สถานการณ์คล้ายคลึงกับสถานการณ์ ที่ แมรี เอนสเวิร์ธ (Mary Ainsworth) เคยทำไว้ โดยปล่อยลูกลิงกับแม่ที่ทำจากผ้า ไว้ในห้องที่ไม่เคยเข้าไปมาก่อน ลูกลิงเมื่ออยู่กับแม่ที่ทำจากผ้า มันจะใช้ “แม่”เป็นฐานที่มั่นที่ปลอดภัย และค่อยๆออกสำรวจห้องไปพร้อมกับ “แม่” ผ้าเนื้อนุ่ม ตรงกันข้าม เมื่อลูกลิงถูกปล่อยให้สำรวจห้องโดยไม่มีแม่ที่ทำจากผ้า ผลที่ตามมานั้นทำให้ผู้วิจัย ต้องตกตะลึง เมื่อไม่มีแม่ปลอมเนื้อนุ่มอุ่นที่มันเคยคลอเคลียคุ้นเคย ลูกลิงจะทำตัวแข็ง หมอบ เขย่า และกรีดร้อง เสียงดัง

การทดลองของแฮรี่ ฮาร์โลว์ ได้เสนอข้อพิสูจน์ที่หักล้างไม่ได้ว่า  ความรู้สึกอบอุ่น เป็นความรู้สึกปลอดภัย ผูกพันไว้ใจ อันเป็นสิ่งที่เรียกว่า ความรักนั้น มีความสำคัญต่อพัฒนาการในวัยเด็กของสัตว์ทุกประเภทรวมทั้งมนุษย์  การทดลองเพิ่มเติมที่ฮาร์โลว์ทำต่อๆมา ได้เผยให้เห็นความหายนะระยะยาวที่เกิดจากการถูกกีดกัน ไม่ให้ได้รับ ความรู้สึกปลอดภัยหรือรักในวัยแรกเกิด นำไปสู่ความทุกข์ระทมทางจิตใจและทำร้ายอารมณ์อย่างลึกซึ้ง จนทำให้ ถึงแก่เสียชีวิตได้ งานวิจัยของฮาร์โลว์เหล่านี้ถูกมองว่าโหดร้าย แต่ได้จุดประกายการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกี่ยวกับเด็ก และพัฒนาการ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ทั้งธรรมชาติของเด็กและความสำคัญของความรักอย่างลึกซึ้ง ที่เด็ก ควรได้รับ

งานของ แฮรี่ ฮาร์โลว์ (Hary Harlow) รวมถึงการวิจัยที่สำคัญโดย จอห์น โบว์ลบี (John Bowlby) และ แมรี เอนสเวิร์ธ (Mary Ainsworth) ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ ในการเลี้ยงดูและปฏิบัติต่อเด็ก ในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า หน่วยงานรับเลี้ยงลูกบุญธรรม กลุ่มบริการสังคม และสถานรับเลี้ยงเด็กอย่างกว้างขวาง

ความรู้สึกปลอดภัยและความผูกพันที่ทำให้เด็กมีความรู้สึกมั่นคงทางใจ เป็นรากฐานของทั้งสุขภาพกาย และใจ เมื่อเด็กทารกรู้สึกไม่ปลอดภัย ความต้องการหลักของทารกไม่ได้รับการตอบสนอง ทำให้เกิดความเครียด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความเครียดขึ้นมา  ทำให้ระบบภายในร่างกาย ลดประสิทธิภาพลง ภูมิคุ้มกันลดลง กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) ทำงานช้าลง เมตาบอลิซึมเป็น กระบวนการทางเคมีที่สำคัญของร่างกายทำให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ รักษาสภาวะภายในร่างกายให้คงที่ ย่อยอาหารและเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน  การเกิดความเครียดอย่างต่อเนื่องส่งผลทำลายความจำและความสามารถ ในการเรียนรู้และการทำความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว ภาพสแกน สมองของเด็กที่มีความเครียด เรื้อรังแสดงให้เห็นว่าแขนงของเซลล์ประสาทสั้นและหดหายไป เมื่อ เทียบกับเด็กปกติ อีกด้วย

https://www.clinicaladvisor.com

ปัจจุบัน ยังได้มีงานวิจัยที่ขยายความรู้เรื่องผลกระทบจากความเครียดในวัยเด็ก ที่ส่งผลต่ออนาคตของเด็ก มากขึ้น เช่น เอลิซาเบท แบล็กเบิร์น (Elizabeth Blackburn) และเอลิซซา เอเพล (Eliza Apel) ซึ่งได้รับรางวัล โนเบลจากงานวิจัยเรื่อง เทโลเมียร์ – ปลอกหุ้มปลายโครโมโซม ยังได้พบอีกว่า วัยรุ่นที่ช่วงวัยเด็กได้รับการปฏิบัติที่ ไม่ดี มักมีความรู้สึกไม่ปลอดภัย จะตอบสนองต่องานที่ได้รับมอบหมายหรือการเรียนที่จริงจัง ซึ่งเป็นความรับผิด ชอบของชีวิตช่วงวัยรุ่นด้วยมุมมองว่า สิ่งที่ตนเผชิญเป็น “ภัยคุกคาม” จนเกิดเป็นความเครียด ที่มีผลให้เทโลเมียร์

ปัจจุบัน ยังได้มีงานวิจัยที่ขยายความรู้เรื่องผลกระทบจากความเครียดในวัยเด็ก ที่ส่งผลต่ออนาคตของเด็ก มากขึ้น เช่น เอลิซาเบท แบล็กเบิร์น (Elizabeth Blackburn) และเอลิซซา เอเพล (Eliza Apel) ซึ่งได้รับรางวัล โนเบลจากงานวิจัยเรื่อง เทโลเมียร์ – ปลอกหุ้มปลายโครโมโซม ยังได้พบอีกว่า วัยรุ่นที่ช่วงวัยเด็กได้รับการปฏิบัติที่ ไม่ดี มักมีความรู้สึกไม่ปลอดภัย จะตอบสนองต่องานที่ได้รับมอบหมายหรือการเรียนที่จริงจัง ซึ่งเป็นความรับผิด ชอบของชีวิตช่วงวัยรุ่นด้วยมุมมองว่า สิ่งที่ตนเผชิญเป็น “ภัยคุกคาม” จนเกิดเป็นความเครียด ที่มีผลให้เทโลเมียร์สั้นลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปให้ชีวิตสั้นลงได้ (ในขณะเดียวกัน วัยรุ่นซึ่งมีประสบการณ์ในวัยเด็กที่ดี มีแนวโน้มที่มอง ความรับผิดชอบเหล่านี้เป็น “เรื่องท้าทาย” )

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พบว่า เมื่อเด็กๆมีความรู้สึกปลอดภัยและความผูกพันไว้ใจกับพ่อแม่ หรือคน เลี้ยงดู ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้เด็กๆเรียนรู้และสามารถแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีทักษะสร้างความ สัมพันธ์ที่มั่นคงกับผู้อื่นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ได้ดีขึ้น อันส่งผลกระทบไปถึงการมีอายุยืน จากการศึกษาของ ซูซาน พิงค์เกอร์ (Susan Pinker) นักจิตวิทยาพัฒนาการชาวแคนาดาพบว่า ในเกาะซาร์ดิเนีย ในอิตาลีตอนใต้มี ประชากรอายุเกิน 100 ปี มากกว่าประชากรอิตาลีในภาคพื้นทวีปที่อยู่ห่างออกไปไม่ถึง 200 ไมล์ถึง 6 เท่า และ มากกว่าทวีปอเมริกาเหนือถึง 10 เท่า นั้น การวิจัยของซูซานพบว่า เงื่อนไขสำคัญที่คนเหล่านี้มีอายุยืนยาว ไม่ได้ เกิดจากการกินอาหารสุขภาพที่มีไขมันต่ำหรือกินแป้งน้อย หรือการที่เป็นคนอารมณ์ดี แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ทำให้คนอายุยืน เกิดจากความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกับคนรักและการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ความสามารถในการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ทำให้คนเรามีอายุยืนมากกว่าการออกกำลังกาย และ ยีนส์มีผลเพียง 25% แต่รูปแบบการดำเนินชีวิตส่งผลให้อายุยืนได้ถึง 75 % “สภาวะโดดเดี่ยวทางสังคม” (Social Isolation) เป็นความเสี่ยงทางสังคม คนที่แยกตัวออกจากสังคมมีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มากกว่าคนที่อยู่ใน สังคมถึงสองเท่า สอดคล้องกับงานวิจัยของ นพ.โรเบิร์ต วาล์ดิงเจอร์ (Robert Waldinger) จากโรงพยาบาล แมสซาชูเซตส์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโครงการ Harvard Study of Adult Development อันเป็นงานวิจัยที่ ติดตาม ผู้ชายจำนวน 700 คนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 รวม 83 ปี ได้ผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกันว่า คนที่มีความ สัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว เพื่อน และชุมชนจะมีความสุข สุขภาพดีและมีอายุยืน กว่าคนที่ไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับ ใครหรือมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดี โรเบิร์ตระบุอีกด้วยว่า “คนที่ไม่สามารถไว้วางใจคนอื่นได้ จะประสบปัญหาความจำ เสื่อมเร็ว และคนที่เดียวดายเหล่านี้มีช่วงชีวิตที่สั้นกว่าคนที่ปราศจากความเหงา”

อ้างอิง

  • https://www.simplypsychology.org/harlow-monkey.html
  • Hoffman et al, Robert Karen, Becoming Attached: First Relationships and how They Shape Our Capacity of love, Oxford University Press, April 23,1998
  • https://susanpinker.com/selected-features-and-profiles/
  • Elizabeth Blackburn & Eliza Apel, The Telomere Effect: A Revolutionary Approach to Living Younger, Healthier, Longer, Grand Central Publishing, January 3, 2017