งานวิจัยที่พบว่า การแสดงละครบทบาทสมมุติ มีผลต่อการพัฒนาการกำกับควบคุมตนเอง และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหาขาดความยั้งคิด หรือเด็กที่กำกับควบคุมตนเองไม่ค่อยได้ จากงานวิจัยพบว่า การแสดงละครบทบาทสมมุติ (Complex Socio-Dramatic Play) มีผลต่อการพัฒนาการกำกับควบคุมตนเองและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเด็กที่มีปัญหาขาดความยั้งคิด
นักวิจัยยังพบว่า การเล่นละครนอกจากให้ผลในเรื่องการกำกับควบคุมตนเองแล้วยังส่งผลดีด้านอื่นๆ ด้วย เช่น ช่วยพัฒนาความจำ เพราะในขณะแสดงบทไปตามเรื่องราวของละคร เด็กจะค้นพบว่ามีการเชื่อมโยงข้อมูลที่มีความหมายทำให้พวกเขาจดจำได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่าการเล่นละครของเด็กๆต้องใช้ EF ทุกด้านอย่างฉับพลันทันที นอกจากต้องจำบทบาทของตนเองได้ (Working Memory) ยังต้องจำบทบาทของคนอื่นได้ด้วย แล้วยังต้องให้ตัวเองอยู่ในบทบาทของตัวละครนั้นตลอดเรื่อง (Inhibitory Control) เด็กต้องคิดว่าเมื่อสวมบทนั้นต้องคิดและพูดอย่างไร (Cognitive Flexibility) โต้ตอบอย่างไร เรื่องจึงจะดำเนินไปได้ [vc_single_image image=”9723″ img_size=”full”] ส่วนบทบาทของครู คือนั่งฟังอย่างตั้งใจอาจช่วยแนะนำในเรื่องการใช้ภาษา เสนอแนะไอเดีย หรือช่วยจัดหาอุปกรณ์ประกอบละครให้ และท้าทายกระตุ้นเด็กๆ ให้ได้ใช้จินตนาการและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
หากโรงเรียนของลูกมีกิจกรรมประเภทนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรให้การสนับสนุน เพราะลูกจะได้รับการพัฒนา EF จากกิจกรรมนี้
Reference : Gmitrova, V., &Gmitrova, G. (2003).The impact of teacher-directed and child-directed pretend play on cognitive competence in kindergarten children. Early Childhood Education Journal, 30(4), 241-246.