ศน.อานันท์ปภาได้รู้จักเรื่อง EF จากโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาที่ใช้กระบวนการเรียนรู้จิตศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนา EF ให้นักเรียน แล้วเข้าอบรมเรียนรู้ EF เพิ่มเติมกับสถาบัน RLG ต่อจากนั้นได้นำความรู้ EF มาขยายผลกับระดับชั้นปฐมวัยของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) กสศ. จำนวน 10 โรง จัดอบรมครูเรื่องความรู้ฐานราก คือ ทักษะสมอง EF พัฒนาการ 4 ด้าน และ Self  โดยสอดแทรกความรู้ EF เข้าไปใน 6 กิจกรรมหลักที่ครูจัดให้เด็กอนุบาลอยู่แล้ว รวมทั้งส่งเสริมให้ครูร่วมกับผู้ปกครองใช้กิจกรรมงานบ้าน งานครัว งานสวน งานสำรวจ การเล่นอิสระพัฒนา EF ให้เด็กในช่วงเวลาที่เด็กอยู่บ้าน หลังเลิกเรียน ในวันหยุด และในช่วงที่โรงเรียนปิดเนื่องจากสถานการณ์โควิด ซึ่งนำมาสู่งานวิจัยที่ศน.อานันท์ปภา กำลังทำร่วมกับครู เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF ผ่านกิจกรรมงานบ้าน งานสวน งานครัว ฯลฯ และเป็นการขยายความรู้ EF สู่ผู้ปกครองด้วย

 ศน.วางแผนที่ขยายความรู้ EF ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่รับผิดชอบ 6 อำเภอ ทั้งโรงเรียน สพฐ.และตชด. โดยขณะนี้ได้เสนอโครงการอบรมครูปฐมวัย2 รุ่น รุ่นละ 100 คน รวมทั้งจะร่วมกับศน.เขตพื้นที่อื่นๆ และอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ขับเคลื่อน EF ในวงกว้างถึงระดับจังหวัด

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • จัดอบรมเรื่อง EF แก่ครูโรงเรียนในโครงการเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) กสศ.จำนวน 10 โรงเรียน ทั้งระดับปฐมวัยถึงประถมศึกษา ให้ความรู้ฐานราก คือ ทักษะสมอง EF พัฒนาการ 4 ด้าน และ Self  โดยสอดแทรกความรู้ EF เข้าไปใน 6 กิจกรรมหลักที่ครูจัดให้เด็กอนุบาล
  • ส่งเสริมให้ครูโรงเรียนในโครงการเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQP) กสศ.ใช้กิจกรรมงานบ้าน งานสวน งานครัว งานสวน งานสำรวจ การเล่นอิสระพัฒนาทักษะสมอง EF โดยร่วมกับผู้ปกครองในการจัดประสบการณ์และประเมินผล

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สื่อสารกับเครือข่ายโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน
  • กำลังติดต่อประสานกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ และศน.พื้นที่การศึกษาเขต 2 เพื่อจะร่วมกันขยายการขับเคลื่อน EF

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • หลังจากอบรมครูให้ได้รับความรู้ EF แล้ว ได้ติดตามนิเทศ ทบทวนว่าครูเข้าใจ EF อย่างไร และให้คำแนะนำ

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • ทำการวิจัยร่วมกับครู เรื่องการพัฒนาทักษะ EF ผ่านกิจกรรมงานบ้าน งานสวน งานครัว ฯลฯ ในโรงเรียนเครือข่ายจิตศึกษา อยู่ในขั้นตอนเก็บข้อมูลและจะมีการ PLC ถอดบทเรียนกับครู
  • เสนอโครงการอบรมเรื่อง EF แก่ครูปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่ คือโรงเรียนสพฐ.และโรงเรียนตชด. โดยจัดในรูปแบบทั้ง Online และ Onsite จัดอบรม 2 รุ่น รุ่นละ 100 คน

การแก้ปัญหา

  • ปัญหาครูอบรมแล้วยังไม่เข้าใจ EF หรือถ้าให้ข้อมูลเชิงวิชาการ ครูจะไม่เข้าใจ จึงใช้วิธีเชื่อมโยง EF กับ 6 กิจกรรมหลักตามหลักสูตรปฐมวัยที่ครูจัดให้เด็กอยู่แล้ว เปรียบเทียบ EF กับคุณลักษณะของเด็กตามหลักสูตร เช่นเด็กรู้จักอดทนรอคอย คือ EF ยับยั้งชั่งใจ เป็นต้น แล้วค่อยเข้าสู่ทฤษฎี เนื้อหา EF
  • ยังไม่มีศธจ.ที่จะเป็นผู้นำการขับเคลื่อนในระดับจังหวัด จึงประสานความร่วมมือกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์และศน.พื้นที่เขตอื่นที่ขับเคลื่อน EF ได้ดี

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูใจเย็นมากขึ้น รอให้เด็กได้คิดได้ตอบเอง ครูรู้จักใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กได้คิด ไม่ตัดสินเด็ก ใช้คำพูดเชิงบวก ใช้วินัยเชิงบวก มีการสังเกตพฤติกรรมเด็ก เข้าใจธรรมชาติเด็กมากขึ้น 
  • เด็กมีพัฒนาการ EF ดี สามารถกำกับตัวเอง ควบคุมตนเองได้ดีมีความภาคภูมิใจในตัวเองจากการที่ได้ช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือพ่อแม่ผู้ปกครอง
  • ผู้ปกครองให้การตอบรับที่ดี สะท้อนว่าลูกสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีทักษะในการทำสิ่งต่างๆ ช่วยเหลืองานผู้ปกครอง และช่วยแก้ปัญหาติดโทรศัพท์ ติดโทรทัศน์