ผอ.เปรมศิริได้รับการแนะนำให้รู้จักเรื่อง EFจากศึกษานิเทศน์เขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 2 และ ศน.เชิญชวนให้เข้ารับการอบรมความรู้ EF กับสถาบัน RLG แล้วนำความรู้ EF มาขยายสู่ครูปฐมวัยในโรงเรียนให้ครูได้ส่งเสริมEF เด็กผ่านโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เนื่องจากมีความสอดคล้องกัน โดยบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยส่งเสริมให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ เรียนรู้จากการลงมือทำ นอกจากนั้นยังวางแผนจะเชื่อมโยงความรู้ EF ไปสู่ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วย เพื่อเป็นการปูพื้นฐาน EF ให้เด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จะมาเรียนต่ออนุบาล 3 ที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย ทำให้เด็กได้รับการพัฒนา EF อย่างต่อเนื่อง  

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • อบรมให้ความรู้EF แก่ครูปฐมวัยโรงเรียนบ้านหนองบ้วยและให้ครูนำความรู้ EF มาใช้ในห้องเรียน ในการเรียนการสอน โดยบูรณาการกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
  • ประชุมผู้ปกครองให้รับทราบแนวทางการพัฒนาเด็กปฐมวัยไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การจัดประสบการณ์ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนมีความเชื่อมโยงกัน

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

แลกเปลี่ยนความรู้ EF กับศึกษานิเทศก์ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี และเพื่อนผู้บริหาร เสนอความคิดในการอบรมครูเรื่องทักษะสมอง EF

การติดตาม/นิเทศ/coaching

ครูในโรงเรียนได้รับการนิเทศติดตาม ให้คำแนะนำเรื่อง EF จากศน. ซึ่งมานิเทศติดตามโครงการบ้านนักวิทย์น้อย ซึ่งมีกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงส่งเสริม EF ด้วย

การต่อยอด/ นวัตกรรม/ วิจัย

ขยายความรู้EF ให้ครูที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบ้วยเพื่อให้เด็กมีการพัฒนา EF อย่างต่อเนื่อง เมื่อมาเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนบ้านหนองบ้วย

การแก้ปัญหา

ขาดวิทยากรที่จะให้ความรู้ EF แก่ครูอย่างต่อเนื่อง ต้องประสานกับศน.ในเขตพื้นที่ให้เป็นที่ปรึกษาแก่ครู

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • ครูเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดได้ทำด้วยตัวเองมากขึ้น ทำให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
  • ตนเองได้เติมความรู้ รู้สึกภูมิใจอย่างมากที่สามารถถ่ายทอดความรู้ EF ให้ครูเข้าใจ ยิ่งได้รับความรู้ก็ยิ่งถ่ายทอดได้ง่ายขึ้น และทำให้กระบวนการจัดประสบการณ์ของครูไปสู่เด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น