เดิม ผอ.ปรีชามีความสนใจเรื่องการพัฒนาสมองเด็กและแนวการพัฒนาเด็กมอนเตสซอรี่ เมื่อได้พบข้อมูลเกี่ยวกับ EF ในอินเทอร์เน็ต ก็รู้สึกตรงกับความสนใจ ดูจะสอดคล้องและสามารถบูรณาการกับแนวทางมอเตสซอรี่ได้ แต่ยังไม่ได้ศึกษาอย่างจริงจัง กระทั่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนบ้านหนองโสน พบว่ามีครูปฐมวัยที่ได้รับการอบรมเรื่อง EF และมีความตั้งใจที่จะใช้ความรู้ EF ในการพัฒนาเด็ก เห็นแนวทางที่จะขับเคลื่อน EF ในโรงเรียนนี้ได้ จึงส่งเสริมสนับสนุนให้ครูลงมือปฏิบัติในระดับชั้นอนุบาล 2-3 และเมื่อไม่นานมานี้ก็เริ่มขยายความรู้ EF ไปสู่ครูประถม โดยให้ครูปฐมวัยเป็นผู้ส่งต่อความรู้

          นอกจากนี้ผอ.ปรีชายังมองว่าควรจะสร้างเครือข่ายขยายความรู้ EF ไปสู่โรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านหนองโสนอีก 5 โรง และโรงเรียนบ้านน้ำคลุ้งที่ผอ.รักษาการณ์อยู่ โดยจะเชิญผู้บริหารโรงเรียนดังกล่าวมาพูดคุยกัน อีกทั้งเสนอความคิดในกลุ่มเพื่อนผู้บริหารโรงเรียนอื่นๆ ในเรื่องจะจัดอบรม EF ให้ครูทุกโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายกัน ทั้งนี้เพราะมองว่า EF เป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะต่างๆ หลากหลาย สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และมีความเชื่อมโยงไปถึงพ่อแม่ ครอบครัวด้วย ถ้าใช้ EF ในการพัฒนาเด็ก ครูจะสามารถดึงผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาให้ความร่วมมือกับครูและโรงเรียนได้มากขึ้น

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • ส่งเสริม สนับสนุนครูปฐมวัยโรงเรียนบ้านหนองโสนให้ศึกษาวิธีการพัฒนา EF นักเรียนและนำไปปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล 2-3
  • ขยายความคิดเรื่อง EF ให้โรงเรียนเครือข่าย โรงเรียนในความรับผิดชอบ และโรงเรียนใกล้เคียง

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • ขยายความรู้เรื่อง EF แก่เพื่อนผู้บริหารโรงเรียนใกล้เคียง และโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาบ้านหนองโสนเครือข่าย 5 โรง เพื่อสร้างเครือข่าย ผู้บริหารให้ความสนใจ
  • จะสร้างโรงเรียนเครือข่าย EF โดยคิดจะจัดอบรมเรื่อง EF แก่ครูทั้งโรงเรียนบ้านหนองโสน โรงเรียนบ้านน้ำคลุ้ง และโรงเรียนเครือข่ายฯ

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • ครูปฐมวัยมีอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (อาจารย์ลูกแก้ว) เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • จะพัฒนาห้องเรียน EF ทั้งโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
  • จะใช้ EF เชื่อมผู้ปกครอง ชุมชนให้เข้ามาร่วมมือกับครูและโรงเรียนพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น

การแก้ปัญหา

  • โรงเรียนบ้านหนองโสนเป็นโรงเรียนใหญ่ที่สุดในกลุ่มและค่อนข้างมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อน EF แต่ยังขาดวิทยากรที่มีความรู้ EF โดยตรง คิดว่าจะประสานขอความช่วยเหลือกับอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี(อาจารย์ลูกแก้ว)
  • ปัญหาครูรู้จัก EF แล้วแต่ยังเข้าใจไม่กระจ่าง ทำให้ไม่สามารถพัฒนา EF ต่อเนื่อง ควรมีแหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้ คำแนะนำ การนิเทศติดตามที่จะเป็นการกระตุ้นครู และทำให้ครูมั่นใจว่าทำถูกต้องถูกทางแล้วหรือไม่ขณะนี้ยังไม่มี ศน.ที่จะมานิเทศให้คำแนะนำ อาศัยข้อมูลความรู้จากอินเทอร์เน็ต
  • การสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและเครือข่ายก็มีความสำคัญในการเป็นพลังให้การพัฒนาEFต่อเนื่องถาวร

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • เด็กอนุบาล 2-3 ได้รับการส่งเสริมพัฒนา EFแต่เนื่องจากยังอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด การพัฒนายังไม่ต่อเนื่อง

ครูอนุบาลสามารถจัดห้องเรียน EF ซึ่งจะทำได้อย่างจริงจังเมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลาย