โรงเรียนบ้านหนองบอนเป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือข่ายโรงเรียนพัฒนาตนเอง (TSQD) กสศ.ซึ่งทำให้ผอ.จรูญได้เริ่มรู้จัก EF แล้วทำให้อยากรู้ว่า EF คืออะไร เมื่อพบว่าสถาบัน RLG มีการอบรมเรื่องนี้จึงสมัครเข้ารับอบรมพร้อมครูอนุบาล 2 คน  แล้วได้เห็นว่า EF เป็นคำตอบเรื่องการพัฒนาเด็กให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และการพัฒนาเด็กให้เต็มศักยภาพ จึงนำความรู้ EF มาถ่ายทอดให้ครูในโรงเรียน โดยใช้สื่อจากสถาบันRLG ให้ครูเรียนรู้ และมอบหมายให้รองผอ.ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนความรู้ EF สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนอนุบาล ให้ครูบูรณาการกับการเรียนแบบ PBL ทำกิจกรรมที่ส่งเสริม EF ซึ่งก็ทำให้ครูได้เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้นและรู้จักสังเกตว่าเด็กได้พัฒนา EF อะไรอย่างไร

 ขณะนี้ผอ.จรูญกำลังดำเนินการจัดทำห้องเรียน EF เมื่อเสร็จแล้วจะให้ผู้ปกครองเข้ามาเรียนรู้เรื่อง EF และขยายความรู้สู่เครือข่ายผู้ปกครอง

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • นำความรู้ EF ไปให้ครูประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนตามบริบทของโรงเรียนบ้านหนองบอน ในระดับปฐมวัย เบื้องต้นเป็นการนำไปบูรณาการในกิจกรรมจิตศึกษา การเรียนแบบ PBL และกิจกรรมสร้างเสริมพัฒนาการ
  • มอบหมายรองผู้อำนวยการดูแล ติดตามการดำเนินการขับเคลื่อน การพัฒนา EF ปฐมวัย

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

จะขยายความรู้ EF สู่ครูและผู้ปกครองของโรงเรียน

การติดตาม/นิเทศ/coaching

รองผู้อำนวยติดตามดูแลการปฏิบัติของครูในชั้นเรียน ผอ.ร่วมให้คำแนะนำ

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

กำลังดำเนินการจัดทำห้องเรียน EFและขยายความรู้ EF สู่ผู้ปกครอง

การแก้ปัญหา

ผู้บริหารที่ได้รับความรู้แล้วไม่ได้ขับเคลื่อน อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจ ไม่เห็นประโยชน์ ผอ.จรูญกลับเห็นว่าแม้ไม่มีนโยบายเรื่อง EF จากหน่วยงานเบื้องบน ก็สามารถนำความรู้ EF มาบูรณาการกับการเรียนการสอนของโรงเรียนตามบริบทที่เป็นอยู่ได้  เมื่อพิจารณาแล้วว่าเรื่องEF ไม่ได้ขัดกับนโยบายจากส่วนกลาง กลับช่วยเสริมให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น สิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับเด็กก็ต้องทำ ไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณเพิ่มมากมาย เพราะ EF สามารถบูรณาการลงไปในแผนที่ครูทำอยู่แล้ว เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนเหมือนกัน วิธีการเท่านั้นที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพียงครูเข้าใจ

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

ครูได้เข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น ได้สังเกตว่าเด็กได้พัฒนา EF อะไรอย่างไร