4 + 4 วิธีตอบสนองความต้องการของเด็กเล็กในแต่ละสถานการณ์

ความต้องการของเด็กเล็กในแต่ละสถานการณ์มีความแตกต่างกันไป ผู้ปกครองที่เข้าใจวงจรความต้อง การทางใจของเด็ก จะสามารถสร้างความสมดุลระหว่างความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย กับความต้องการพัฒนาการพึ่ง ตนเองของเด็ก ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองทำหน้าที่เป็นฐานที่มั่นทางใจได้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสอดคล้องกับ ธรรมชาติความต้องการของเด็กเล็กได้

“วงจรความปลอดภัย” หรือ The Circle of Security ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสังเกตเด็กเล็กที่ช่วยให้ พ่อแม่ผู้ปกครองมีทักษะในการดูแลเด็กได้ดีขึ้น สามารถหนุนสร้างสมดุลในเด็ก ระหว่างความต้องการความ ปลอดภัยกับความเป็นอิสระของเด็ก ช่วยให้เข้าใจถึงสิ่งที่เด็กต้องการจากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในแต่ละช่วงได้แม่นยำ ยิ่งขึ้น ทำให้ตอบสนองต่อความต้องการของเด็กได้เหมาะสม บนพื้นฐานความเข้าใจว่า เด็กทุกคนเกิดมาล้วน ต้องการสายสัมพันธ์ที่มั่นคง ปลอดภัยจากแม่พ่อและคนเลี้ยงดู ในการส่งเสริมให้มีความรู้สึกมั่นคง และมีความ สามารถที่จะออกไปเผชิญโลกได้ด้วยตนเองในที่สุดนั้น  ในวงจรแห่งความปลอดภัย  (The Circle of Security) ของเด็กในแต่ละครั้งนั้น มีช่วงเวลาสำคัญ 2 ช่วงใหญ่ๆคือ ช่วงเวลาที่เด็กกำลังออกไปสำรวจ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ กับ ช่วงเวลาที่เด็กรู้สึกเปราะบางและต้องการความมั่นใจ หากพ่อแม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึกและความต้องการของเด็ก ในแตละช่วงได้อย่างถูกต้อง และตอบสนองได้ตรงจุด จะช่วยให้เด็กมีความมั่นคงทางใจในการออกไปสำรวจโลก และเกิดความผูกพันไว้ใจกับพ่อแม่

          ต่อไปนี้คือวิธีง่ายๆที่พ่อแม่รวมทั้งผู้ปกครองทุกคน สามารถตอบสนองเด็กเล็กได้อย่างถูกต้อง ในช่วงเวลา ที่ลูกต้องการ

4 วิธีในการตอบสนองความต้องการของเด็กเล็กในช่วงเวลาที่กำลังสำรวจ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ:

  1. สนใจดูสิ่งที่ลูกกำลังทำ ในขณะที่กำลังเฝ้าดูอยู่ พ่อแม่ต้องเรียนรู้ว่า เมื่อใดควรเข้าไปมีส่วนร่วม และ เมื่อใดควรให้อิสระ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทำเองก่อน แม้ว่าต้องการเข้าไปช่วย เช่น การเดินขึ้นบันได การได้พึ่งพาตนเองทำให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ และสมองเก่งขึ้น พ่อแม่ควรเข้าไปให้กำลังใจ เมื่อลูก แสดงความกังวลใจหรือไม่มั่นใจเท่านั้น
  2. แสดงความชื่นชมยินดีเสมอ เมื่อลูกสามารถทำบางสิ่งบางอย่างสำเร็จ โดย “ชื่นชมลูกที่ความพยายาม” การที่พ่อแม่ชื่นชมยินดี หรือร่วมฉลองความสำเร็จไปกับลูก ทำให้ลูกรู้สึกได้ว่าพ่อแม่พอใจในตัวลูกที่ พยายามทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเต็มที่เสมอ เด็กจะรู้สึกว่าตนเองได้รับการยอมรับนับถือจากพ่อแม่ และก่อ ความนับถือในตนเองขึ้น
  3. ร่วมสนุกไปกับกิจกรรมต่าง ๆ กับลูกโดยไม่ชี้นำ ร่วมเล่นเกมและออกสำรวจสิ่งต่าง ๆ ร่วมกัน
  4. ให้ความช่วยเหลือและเข้าไปช่วยเหลือเมื่อลูกร้องขอ หรือลูกยังไม่แข็งแรงพอที่จะทำได้ด้วยตนเอง เช่น ช่วยอุ้มเพื่อให้โหนตัวเล่นบนบาร์ได้ หรือช่วยลูกให้ทำบางสิ่งได้ด้วยตนเอง

4 วิธีในการตอบสนองและดูแลเด็กในช่วงเวลาที่เด็กรู้สึกเปราะบาง:

ในยามที่เด็กต้องการกลับมาหา “ที่หลบภัย” มีภาวะอารมณ์อยู่ในด้านล่างของวงกลม ซึ่งเป็นเวลาที่ลูก ต้องการใกล้ชิดกับพ่อแม่หรือครู ทั้งทางอารมณ์และร่างกาย สามารถทำได้ดังนี้

  1. ปกป้องและทำให้รู้สึกปลอดภัย แสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างพอดี ไม่มากไม่น้อย ปลอบโยน พูดให้ความ มั่นใจและให้การสัมผัสที่อ่อนโยนเมื่อลูกเกิดอาการกังวลใจ ไม่สบายใจหรือกลัว และรักษาคำมั่นสัญญา เช่นในวันแรกที่ไปโรงเรียนให้ไปรับลูกตรงเวลา เพื่อให้ลูกรู้สึกว่าได้รับ การดูแล ไม่ถูกทอดทิ้ง
  2. มีรอยยิ้มให้ทุกครั้งที่ลูกกลับมาหา “ที่หลบภัย” เพื่อให้ลูกเกิดความสบายใจ ในยามที่ลูกต้องการหลบภัย ให้พ่อแม่หลีกเลี่ยงการแสดงออกถึงพฤติกรรมใด ๆ ที่ทำให้ลูกรู้สึกหงุดหงิด หรือไม่พอใจ เช่น การล้อ เลียน แหย่ และขณะเดียวกันกับที่พ่อแม่ยิ้มให้ลูกนั้น ต้องไม่กระตุ้นหรือพยายามให้ลูกระงับความกลัว หรือความเศร้าด้วยการยิ้มตามพ่อแม่ไปด้วยในขณะที่ลูกร้องไห้ และอารมณ์ยังไม่สงบลง เพราะอาจทำ ให้เด็กสับสน และคิดว่าการยิ้มเท่านั้นที่พ่อแม่ยอมรับ และทำให้ตนสามารถใกล้ชิดกับพ่อแม่ได้
  3. สอนให้ลูกยอมรับ รู้จักและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง การรีบบอกหรือสอนจะ ทำให้เด็กสับสนกับอารมณ์ ที่เกิดขึ้นได้ ถ้าลูกกลัวอย่าเพิ่งพูดว่า “อย่ากลัว” ให้ฟังสิ่งที่ลูกบอกและตอบกลับด้วย คำพูดที่ทำให้ลูก เข้าใจตนเองมากขึ้น เช่น “หนูรู้สึกกลัวใช่ไหม หนูอยากให้พ่อแม่กอดใช่ไหม งั้นมากอดกัน” “กอดกัน แล้วรู้สึกดีขึ้นไหม” หรือ “หนูรู้สึกกลัว แต่ก็อยากเล่นใช่ไหม” “อยากลองเล่นต่อไหม หรืออยากให้พ่อ ช่วยอะไร” เด็ก ๆ จะเข้าใจตนเองและได้ “โอกาส” ประเมิน ว่าตนเองต้องการทำอะไรต่อ สามารถทำ ด้วยตนเองได้ไหม หรือต้องการความช่วยเหลือจากพ่อแม่ การยอมรับตนเอง รู้จักและเข้าใจอารมณ์ตนเอง นี้ เป็นทักษะที่จำเป็นในชีวิต
  4. ขั้นตอนสำคัญขั้นสุดท้ายในการทำให้เด็กปลอดภัยคือ การสื่อสาร เมื่อพ่อแม่พูดคุยกับลูกๆ อย่างเปิดเผย และช่วยลูกประมวลผลสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องถูกรังแกที่โรงเรียน หรือถูกสมาชิกใน ครอบครัวทำให้เจ็บ ก็ให้ลูกได้เรียนรู้ว่าสามารถหันไปหาพ่อแม่ได้ตลอดเวลา และเขาจะปลอดภัยเสมอใน อ้อมกอดของพ่อแม่

อ้างอิง
– Daniel J Siegel & Tina Payne Bryson, The Power of Showing Up: How Parent Presence Shapes Who Our Kids Become and How Their Brains Get Wired, Random House USA Inc, New York, United States, Jan 5,2021
– Robert Marvin, Glen Cooper, Kent Hoffman and Bert Powel,The Circle of Security project: attachment-based intervention with caregiver-pre-school child dyads, https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/12065033/ สืบค้น Aug 30, 2021