การกระตุ้นให้เด็กคิดยืดหยุ่นจะนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ทำความเข้าใจเรื่องนี้จากกิจกรรมในชั้นเรียน
“ข้อจำกัด” เป็นสิ่งเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางความคิดอันนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ได้
เช่น ในกิจกรรมประดิษฐ์ของจากวัสดุเหลือใช้ หากวัสดุที่จัดเตรียมไว้ไม่ครบ แทนที่คุณพ่อคุณแม่หรือคุณครูจะไปจัดการจัดหามาให้ ถ้าถามกลับว่า “จะใช้อะไรทดแทนได้ไหม”จะพบว่า เด็กจะพยายามคิดหาสิ่งทดแทน โดยใช้ความจำจากที่เคยทำแล้วนำมาคิดใหม่ ค้นหาทางใหม่ๆ [vc_single_image image=”9798″ img_size=”full” alignment=”center”] การให้โอกาสพัฒนาความคิดยืดหยุ่นของเด็กบนข้อจำกัดเช่นนี้ จะเป็นการฝึกที่ได้ผล เราอาจพบว่า สิ่งที่เด็กหามาทดแทนนั้นน่าทึ่ง คาดไม่ถึง
เมื่อฝึกบ่อยๆ เด็กจะไม่รู้สึกว่านั่นคือการขาดแคลน แต่กลับเป็นความท้าทายที่น่าลุ้น และเมื่อเขาทำได้ดีก็จะเกิดเป็นความภาคภูมิใจในตนเอง
“เด็กได้ใช้ความจำจากการเคยทำเคยมีประสบการณ์ แล้วเอามาปรับใช้ โดยคุณครู พ่อแม่ให้โอกาสเด็กได้ใช้ความคิดของตัวเอง โยนคำถามกระตุ้น เด็กจะได้ฝึกคิดยืดหยุ่นและคิดสร้างสรรค์”