เมื่อได้รับความรู้เรื่องทักษะสมอง EF และเห็นความสำคัญของ EF แล้ว ศน.ปิยะนุชจึงคิดขับเคลื่อนความรู้ EF ในจังหวัดน่าน ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักในการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยบุคลากรสังกัดต่างๆ 4 กระทรวง ทั้งศน.ที่รับผิดชอบดูแลเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 และเขต 2 วิทยาลัยชุมชน อปท. พมจ. สธ. และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน แล้วขับเคลื่อนความรู้  EF อย่างเข้มแข็ง อบรมครูปฐมวัยในพื้นที่จังหวัดน่าน เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย ทั้ง Onsite และ Online จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ผู้บริหารโรงเรียนและครูส่งผลงาน Best Practice เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นต้นแบบในการนำความรู้ EF สู่การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนา EFจนกระทั่งสามารถวางเป้าหมายและมีแผนที่จะขยายความรู้ EF สู่โรงเรียนทั่วจังหวัดน่านในปี 2565 โดยจะจัดอบรมผู้บริหาร ครูจากทุกสังกัดคัดเลือกครูแกนนำ EFรวมทั้งพัฒนาวิทยากรEF ในพื้นที่

การขับเคลื่อน EF ที่เป็นรูปธรรม

  • จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดขับเคลื่อนความรู้ EF ในจังหวัดน่าน
  • อบรมครูปฐมวัยจ.น่าน เรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย ทั้ง Onsite และ Online
  • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ผู้บริหารและครูส่งผลงาน Best Practice เข้ามาแลกเปลี่ยนกัน
  • ตั้งศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยเป็นต้นแบบในการนำความรู้ EF สู่การดำเนินการจัดกิจกรรม มีการติดตามผลเป็นระยะๆ
  • วางแผนขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยเต็มพื้นที่ จ.น่าน ในปี 2565 โดยนำเรื่องการพัฒนาทักษะสมอง EF เข้าสู่คณะอนุกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัด เชิญคณะทำงานมาร่วมพูดคุยวางแผนงาน 30 คนจากหลากหลายสังกัดรวมทั้งจากสถาบันอุดมศึกษา (จังหวัดน่านไม่มีมหาวิทยาลัยราชภัฏที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงให้ จึงขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์อรทัย เหล่าอลงกรณ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง EF) มีแผนงานดังนี้

       1. (งบประมาณปี 65 จากอบจ.) จัดอบรมผู้บริหารและครูจากโรงเรียนทุกสังกัด ตั้งเป้าไว้ 500 คน  โดยกิจกรรมแรก สร้างความตระหนักในเรื่อง EF ให้ผู้บริหารในรูปแบบ Onsite  เชิญผู้บริหารจากหน่วยงาน 4หน่วยงาน คือ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต1 และเขต 2 ผู้บริหารอปท. และผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดน่าน (จัด 12 ธค.64) ส่วนการอบรมครู จัดแบบ Online

       2. คัดเลือกครูแกนนำ EF (ครูก.) จำนวนประมาณ 20 คน จากครูที่ได้รับการอบรมในปี 2564 อบรมทบทวนความรู้เดิม และเพิ่มเติมการทำแผนการจัดประสบการณ์ ซึ่งครูอาจขาดเทคนิควิธีการนำ EF ไปบูรณาการในแผน รวมทั้งพัฒนาการเป็นวิทยากรในพื้นที่โดยมีอาจารย์อรทัย เหล่าอลงกรณ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจ จัดอบรมเป็นเวลา 3 วัน

      3. ลงพื้นที่ ไปเป็นวิทยากรหลักร่วมกับศึกษานิเทศก์ ให้ความรู้แก่ครูในเรื่องแผนการจัดประสบการณ์ สาธิตการสอนเพื่อให้ครูเกิดความชัดเจนในการนำความรู้ EF มาจัดประสบการณ์เรียนรู้ในชั้นเรียน

การสร้าง/ประสานเครือข่าย

  • สร้างเครือข่ายคณะทำงานซึ่งเป็นศน.และนักวิชาการในทุกสังกัดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนปฐมวัย
  • ประสานความร่วมมือกับผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา
  • ประสานความร่วมมือขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด โดยคณะดำเนินงานมีศึกษาธิการจังหวัดเป็นประธาน เป็นหลักในการขับเคลื่อนและเห็นความสำคัญของการศึกษาปฐมวัย  ศน.เป็นเลขาธิการ ขับเคลื่อนประสานติดต่อของบประมาณ เชิญคณะทำงานมาประชุม คณะอำนวยการ ประกอบด้วย ผอ.เขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 เขต 2 สาธารณสุขจังหวัด พมจ. ครูใหญ่ ตชด. ผอ.การศึกษาพิเศษ วิทยาลัยชุมชนน่าน  คณะทำงานมี ศึกษานิเทศก์ หัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา เช่น รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่  นักวิชาการของอปท. ผู้บริหารสถานศึกษา (หน่วยงานละ 1 คน) ครูผู้สอน รวมทั้งหมด 30 คน มาร่วมกันออกแบบ วางแผนการทำงาน (โดยศน.ร่างตัวอย่างไว้ก่อน) แลกเปลี่ยน บริหารงบประมาณร่วมกัน

การติดตาม/นิเทศ/coaching

  • ติดตามการนิเทศโรงเรียนที่ใช้ความรู้ EF ในการจัดการเรียนการสอนโดยศน.แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาและนักวิชาการเป็นผู้ทำการคัดเลือกโรงเรียนที่จะนิเทศติดตามตั้งเป้าไว้ 20 โรงเรียนจากทุกสังกัด ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ให้นำเสนอการเรียนการสอนผ่านคลิปวิดีโอ

การต่อยอด/นวัตกรรม/ วิจัย

  • เกิดกระบวนการทำงานแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ โดยใช้รูปแบบ NECDC Model 

N คือการจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กปฐมวัย จ.น่าน

E Evaluation ทบทวน ประเมินผลการปฏิบัติงานในการพัฒนาครูสู่ผู้เรียน ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ เป้าหมายคือ “คุณภาพของเด็ก จ.น่านสมวัย” อันเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน วางแผนการทำงานร่วมกัน วางแผนการใช้งบประมาณที่มีอยู่ร่วมกัน

C Care for early childhood 

D Development ระบบดูแลช่วยเหลือร่วมกัน โดย 1 ใช้ข้อมูลสารสนเทศของปฐมวัยระดับจังหวัดร่วมกัน แล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการวางนโยบายและวางแผน 2 พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรร่วมกัน 3 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่องค์ความรู้ผ่านโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่างๆ

C Check & AAR นิเทศติดตามแบบบูรณาการร่วมกัน 4 สังกัด ศธ. (ศน. เขตพื้นที่ ศธจ.) พมจ. สธ.อปท. แล้วมาพูดคุยกัน

การแก้ปัญหา

  • ปัญหาการไม่ยอมรับของหน่วยงานต่างๆ  เช่น เห็นว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อนบ้าง หรือไม่ใช่งานใน หน้าที่โดยตรงบ้าง จึงได้แก้ปัญหาโดยการพูดคุย ทั้งผ่านไลน์กลุ่ม ไลน์ส่วนตัว ใช้ความสัมพันธ์ที่ดีส่วนตัวโทร.คุยก่อนส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมอย่างเป็นทางการ ให้หน่วยงานที่เข้าร่วมได้ร่วมคิดร่วมทำ เพื่อให้รู้สึกมีความเป็น เจ้าของงาน มีคนให้ความสำคัญ มีความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ บริหารจัดการร่วมกัน
  • ปัญหางบประมาณ ศธ.มีน้อย หากเสนอเรื่องเข้าสู่คณะทำงานระดับจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบก็จะได้รับงบประมาณสนับสนุน หรือบางครั้งอาศัยงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมาร่วมดำเนินงาน

ปัจจัยความสำเร็จ

  • ผู้ว่าราชการเห็นความสำคัญ ทำให้ขับเคลื่อนได้สะดวก ขับเคลื่อนได้ทั้งจังหวัด โดยใช้นโยบายจังหวัดขับเคลื่อน คือทำร่างคำสั่งการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัย เข้าคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับพมจ. โดยศน.เป็นเลขาฯร่วมของคณะทำงานระดับจังหวัด
  • อาศัยความร่วมมือจากหัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา การดำเนินงานจะสัมฤทธิ์ผลหรือไม่
  • ขึ้นอยู่กับการผลักดันของหัวหน้าหน่วยงานทางการศึกษา
  • การประสานงาน ต้องอาศัยทักษะในการประสาน ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การสร้างความเป็นกัลยาณมิตร อ่อนน้อมถ่อมตน ใช้ระบบการทำงานแบบพี่น้อง รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้โอกาส การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกัน มีความโปร่งใส 

ผลสัมฤทธิ์ / การเปลี่ยนแปลง

  • มีการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดน่าน
  • มีกระบวนการทำงานแบบบูรณาการเชิงพื้นที่ โดยใช้รูปแบบการทำงาน NECDC Model