ความรู้เกี่ยวกับทักษะสมอง Executive Functions (EF) ชี้ชัดว่า การพัฒนาทักษะสมองส่วนหน้า (EF) ใช้ระยะเวลายาวนานจากขวบปีแรก จนถึงประมาณวัยผู้ใหญ่ตอนต้น (25-30 ปี) แต่ช่วงปฐมวัย (3-6 ปี) เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุด และมีอัตราการพัฒนาได้ดีที่สุด ที่จะปลูกฝังทักษะ EF ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นบุคลิกภาพ หากพ้นช่วงเวลานี้ไปแล้ว โอกาสแห่งการพัฒนาคุณลักษณะแห่งสุขภาวะทุกด้านของชีวิตก็จะลดลง [vc_single_image image=”13836″ img_size=”full”] จึงเป็นความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ครูปฐมวัยรุ่นใหม่ทุกคน จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้ Executive Functions ธรรมชาติการทำงานของสมองของเด็กปฐมวัย และทักษะสมองส่วนหน้า ให้ชัดเจนและลึกซึ้ง จะได้เป็นพื้นฐานในการออกแบบ จัดการเรียนรู้ และประเมิน เพื่อเปิดโอกาสให้สมองของเด็กปฐมวัยได้รับการส่งเสริมทักษะสมอง Executive Functions (EF) อันจะนำไปสู่การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กปฐมวัยในช่วงวัยที่สำคัญที่สุดนี้ต่อไป
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญเช่นนี้ สภาคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการจัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อฝึกอบรมอาจารย์สาขาการศึกษาปฐมวัยและสาขาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในองค์ความรู้เรื่องทักษะสมองเพื่อจัดการชีวิตให้สำเร็จ (Executive Functions-EF) โดยในปีการศึกษา 2562 ที่ผ่านนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 31 แห่ง ได้เปิดสอนรายวิชา “สมองกับการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย” ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 แล้ว
ครู/อาจารย์เปลี่ยน : เนื่องจากเป็นรายวิชาใหม่และเป็นเรื่องของสมอง ประกอบกับผู้เรียนเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อาจารย์ผู้สอน จึงต้องเตรียมตัว เตรียมทำการบ้านอย่างหนัก เพื่อให้นักศึกษาได้รู้ ได้เข้าใจ เชื่อมโยงได้กับชีวิตประจำวัน สามารถนำความรู้เรื่องทักษะสมอง EF ไปเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติในการเรียนรู้ในอนาคต และเมื่อจบการศึกษาออกไปเป็นครูเด็กปฐมวัย
“เมื่อรู้ว่าจะต้องสอนวิชานี้ ก็กังวลใจ คิดว่าเรียนครั้งแรกนักศึกษาต้องท้อแน่เลย ว่าทำไมต้องมาเรียนเรื่องสมอง ตัวอาจารย์เลยต้องเตรียมตัว เตรียมกิจกรรม เตรียมทำการบ้าน ทำอย่างไรทุกครั้งทุกคาบ จะให้นักศึกษาจะร้อง “ว้าว” และร่วมเรียนรู้ไปกับเรา จึงต้องคิดมาก เตรียมมาก” อาจารย์สุชาดา จิตกล้า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ไม่ใช่เพียงอาจารย์สุชาดาเท่านั้นที่กังวลใจ เกรงว่าจะสอนได้ไม่ครบหลักสูตร อาจารย์ทุกท่านที่เริ่มสอนวิชานี้เป็นครั้งแรกก็เช่นกัน เพื่อคลายความกังวล ทำให้การสอนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ อาจารย์ทุกท่านจึงต้องทำการบ้าน ต้องเตรียมตัว และที่สำคัญคือการ “เปลี่ยนแปลงตัวเอง” โดยการเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อวิชาชีพ ต่อการสอน ต่อนักศึกษา เปลี่ยนจาก Passive Teacher เป็น Active Teacher มีเป้าหมายในการสอน มีการวางแผน มีการจัดการมากขึ้น เปลี่ยนกระบวนการสอน จากการมุ่งไปที่เนื้อหา เป็นการสร้างเจตคติที่ดีต่อตนเอง ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง ต่อวิชาชีพครู และต่อเด็กปฐมวัยให้กับนักศึกษาก่อน เปลี่ยนกระบวนการสอนจากอาจารย์จะสอน “อะไร” เป็นนักศึกษาจะ “ได้ความรู้อย่างไร” จากการบรรยายประกอบ power point เป็นส่วนใหญ่ หันมาเน้นสร้างการเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม ให้นักศึกษาเป็นผู้เลือก ให้เรียนด้วยการลงมือปฏิบัติมากขึ้น ใช้กิจกรรม ใช้สื่อการสอนที่หลากหลาย เน้นกิจกรรมเพื่อโยงสู่เนื้อหาของวิชาการ เชื่อมโยงกิจกรรมสู่การพัฒนาทักษะ EF กับนักศึกษา [vc_single_image image=”13842″ img_size=”full”][vc_single_image image=”13843″ img_size=”full”][vc_single_image image=”13844″ img_size=”full”]
นักศึกษาเปลี่ยน คิดว่าวิชานี้จะต้องยาก ต้องอ่านหนังสือปึกหนาๆ แต่ไม่ใช่เลย เพราะอาจารย์มีวิธีสอนที่หลากหลาย ให้ทำกิจกรรมที่ไม่ซ้ำกันทุกคาบ ให้ลงมือทำ ให้ทำงานด้วยกัน ให้สนุกด้วยกัน ให้ได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ เรียนแล้วก็เกิดทักษะ เกิดการเรียนรู้หลายๆ อย่าง ทำให้เชื่อมโยงได้ว่าถ้าเด็กอนุบาลในชั้นเรียนที่เราเป็นครูทำพฤติกรรมแบบนี้เชื่อมโยงกับสมองตรงไหน” หนึ่งในเสียงสะท้อนจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสอนของอาจารย์ ที่ใช้หลักการ Transformative Learning ที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงาจากภายใน เป็นการเรียนรู้ที่จะสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับผู้เรียน คือนักศึกษาครู ได้อย่างยั่นยืน
จากการลงพื้นที่ติดตามผลของคณะนักวิชาการจากสถาบันอาร์แอลจี และภาคี Thailand EF Partnership พบการเปลี่ยนแปลงในทางบวก คือ นักศึกษาเปลี่ยนจาก Passive Learner เป็น Active Learner เช่นเดียวกับอาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กระบวนเรียนรู้ที่ใช้แนวทางการพัฒนาทักษะสมอง EF และ Transformative Learning ทำให้ห้องเรียนวิชาสมองกับการเรียนรู้ที่คิดว่าจะยาก เปลี่ยนเป็นห้องเรียนที่มีความสุข สนุก น่าค้นหา ผลกระทบต่อตัวนักศึกษาพบว่า มีวินัยที่เกิดจากตัวผู้เรียนเอง นักศึกษาไม่มาสาย ไม่ขาดเรียน กระตือรือร้น ทำงานร่วมกันได้ เปิดใจทั้งกับเพื่อนและกับอาจารย์ เชื่อมโยงความรู้เรื่อง EF จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติได้ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ สามารถออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ไม่ลอกเลียนใคร และสามารถนำไปทดลองใช้กับเด็กปฐมวัยแล้วกับมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับองค์ความรู้เรื่องการทำงานของสมองส่วนคิดของมนุษย์และพัฒนาการเด็กได้อย่างเข้าใจ ที่สำคัญคือ นักศึกษาเห็นคุณค่าในตัวเอง เห็นเป้าหมายปลายทาง